Asperger's Syndrome (โรคแอสเพอร์เกอร์)

          แอสเพอร์เกอร์ ซินโดรม มีความบกพร่องในการมีปฎิสัมพันธ์ทางสังคม ร่วมกับ มีแบบแผนพฤติกรรม ความสนใจ หรือกิจกรรมที่จำกัด ทำซ้ำๆ และคงรูปแบบเดิม มีความแตกต่างจากโรคออทิสติก ตรงที่ว่าไม่มีความล่าช้าของพัฒนาการทางภาษาอย่างชัดเจน ไม่พบความบกพร่องทางสติปัญญา แต่มักมีการเคลื่อนไหวงุ่มง่าม เชื่องช้า และมีความอยากรู้อยากเห็นในสิ่งรอบตัวในช่วงวัยเด็ก

หลักเกณฑ์ในการวินิจฉัยโรคแอสเพอร์เกอร์

A. เข้าเกณฑ์ต่อไปนี้จากหัวข้อ (1) อย่างน้อย 2 ข้อ และจากหัวข้อ (2) อย่างน้อย 1 ข้อ

     1. มีคุณลักษณะในการเข้าสังคมที่ผิดปกติ

          1.1. บกพร่องอย่างชัดเจนในการใช้ท่าทางหลายอย่าง เช่น การสบตา, การแสดงสีหน้า, กิริยา หรือท่าทาง

          1.2. ไม่สามารถสร้างความสัมพันธ์กับบุคคลในระดับที่เหมาะสมกับอายุได้

          1.3. ไม่แสดงความอยากเข้าร่วมสนุก, ร่วมทำสิ่งที่สนใจ หรือร่วมงานให้เกิดความสำเร็จกับคนอื่นๆ เช่น ไม่แสดงออก, ไม่เสนอความเห็น หรือไม่ชี้ว่าตนสนใจอะไร

          1.4. ไม่มีอารมณ์หรือสัมพันธภาพตอบสนองกับบุคคลอื่น

     2. มีแบบแผนพฤติกรรม ความสนใจ หรือกิจกรรมที่จำกัด ทำซ้ำๆ และคงรูปแบบเดิม

          2.1. หมกมุ่นกับพฤติกรรมซ้ำๆตั้งแต่ 1 อย่างขึ้นไป และมีความสนใจในสิ่งต่างๆจำกัด ซึ่งเป็นภาวะที่ผิดปกติทั้งในแง่ของความรุนแรงหรือสิ่งที่สนใจ

          2.2. ติดกับกิจวัตรประจำวัน หรือย้ำทำกับบางสิ่งบางอย่างโดยไม่ยืดหยุ่น

          2.3. ทำกิริยาซ้ำๆ เช่น เล่นสะบัดมือ, หมุน, โยกตัว

          2.4. สนใจหมกมุ่นกับเพียงบางส่วนของวัตถุ

B. ความผิดปกตินี้ ก่อให้กิจกรรมด้านสังคม การงาน หรือด้านอื่นๆที่สำคัญ บกพร่อง

D. ไม่พบพัฒนาการทางภาษาที่ล่าช้า

E. ไม่พบพัฒนาการทางความคิดที่ หรือมีความสามารถในการช่วยเหลือตนเอง พฤติกรรมการปรับตัว และมีความอยากรู้เห็นในสิ่งรอบตัวในช่วงวัยเด็ก

F. ความผิดปกติไม่เข้ากับ พีดีดี ความบกพร่องของพัฒนาการแบบรอบด้าน ชนิดเฉพาะอื่น หรือโรคจิตเภท

ข้อสังเกต

     1.       ด้านภาษา คือมีทักษะการใช้ภาษาปกติ อาจพูดถูกหลักไวยากรณ์ แต่ไม่เข้าใจเนื้อที่ลึกซึ้ง หรือความหมายโดยนัย

     2.      ด้านพฤติกรรม คือมีความสนใจเฉพาะเรื่อง ทำอะไรซ้ำๆ หรือหมกมุ่นในเรื่องที่มีความซับซ้อน เช่น แผนที่โลก, วงจรไฟฟ้า หรือระบบสุริยจักรวาล

     3.      ด้านสังคม มักมีการแสดงออกที่แปลกกว่าเด็กในวัยเดียวกัน เช่น ไม่สบตา, ชอบแยกตัว, ไม่สนใจคนรอบข้าง, เล่นกับคนอื่นไม่เป็น, ไม่รู้กาลเทศะ, ขาดความเข้าใจ หรือเห็นใจผู้อื่น รวมทั้งมักพูดเองเดิมซ้ำๆตามความสนใจของตนเอง