กิจกรรมบำบัด (Occupational Therapy)

กิจกรรมบำบัด (Occupational Therapy) เป็นการประยุกต์กิจวัตร หรือกิจกรรม มาใช้ในการตรวจประเมิน ส่งเสริม บำบัดรักษา และฟื้นฟูสมรรถภาพ ให้สามารถกลับไปดำรงชีวิตในสังคมได้ใกล้เคียงปกติมากที่สุด โดยมุ่งเสริมสร้างสมาธิ ทักษะการคิด พัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก และการทำงานประสานกันของกล้ามเนื้อ ผ่านกิจกรรมการเรียนรู้ต่างๆ
Picture

ขอบเขตงานของนักกิจกรรมบำบัด

1. การสอนและฝึกให้เด็กสามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ด้วยตนเองในด้านต่างๆ เช่น การทานอาหาร, การใส่เสื้อผ้า เป็นต้น

2. กิจกรรมเพื่อเพิ่มความสามารถในการควบคุมตนเองในเด็กที่มีพฤติกรรมไม่อยู่นิ่ง ก้าวร้าว ไม่สบตา

3. กิจกรรมกระตุ้นการดูด, การเคี้ยว และการกลืน

4. กิจกรรมเตรียมความพร้อมทักษะต่างๆ ที่เป็นพื้นฐานทางการศึกษาเพื่อส่งเสริมการรับรู้และเรียนรู้ เช่น ฝึกทักษะการเขียน,  ฝึกทักษะการอ่าน เป็นต้น

5. กิจกรรมฝึกทักษะการเคลื่อนไหว เช่น กระตุ้นการชันคอ การคลาน การเดิน

6. กิจกรรมเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อในผู้ที่มีกล้ามเนื้ออ่อนแรง

7. กิจกรรมเพื่อส่งเสริมการใช้มือในการหยิบจับ หรือทำกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวัน

8. กิจกรรมการฝึกทักษะในการสื่อความหมาย

9. กิจกรรมการฝึกทักษะทางสังคม

10. กระตุ้นให้สามารถปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมหรือสังคมเพื่อการดำรงชีวิตอย่างปกติสุข โดยไม่เป็นภาระแก่ครอบครัวหรือผู้อื่น

11. ประดิษฐ์ ดัดแปลงอุปกรณ์หรือเครื่องช่วย เพื่อให้เด็กสามารถช่วยเหลือตัวเองในการทำกิจวัตรประจำวันต่างๆได้โดยไม่เป็นภาระ เช่น แต่งกาย, การทำความสะอาดร่างกาย, การรับประทานอาหาร เป็นต้น

12. ให้คำปรึกษากิจกรรมการเล่นที่ส่งเสริมพัฒนาการ การเรียนรู้ในโรงเรียน

13. กระตุ้นระบบการรับความรู้สึกของเด็ก โดยนำทฤษฎีการผสมผสานการรับความรู้สึก (Sensory Integrative Theory) มาใช้